เมนู

ส. เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ ส่วนหนึ่งสัมปยุตด้วยจิต อีก
ส่วนหนึ่งเป็นจิตตวิปปยุต หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[1448] ป. ไม่พึงกล่าวว่า อนุสัยเป็นจิตตวิปปยุต หรือ ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. ปุถุชน เมื่อจิตที่เป็นกุศลและที่เป็นอัพยากฤตเป็นไป
อยู่ พึงกล่าวว่า เป็นผู้มีอนุสัย หรือ ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. อนุสัย สัมปยุตด้วยจิตนั้น หรือ ?
ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ป. ถ้าอย่างนั้น อนุสัยก็เป็นจิตตวิปปยุต น่ะสิ.
ส. ปุถุชน ครั้นเมื่อจิตที่เป็นกุศลและที่เป็นอัพยากฤต
เป็นไปอยู่ พึงกล่าวว่า เป็นผู้มีราคะ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ราคะ สัมปยุตด้วยจิตนั้น หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. ถ้าอย่างนั้น ราคะก็เป็นจิตตวิปปยุต น่ะสิ.
ติสโสปิ อนุสยกถา จบ

อรรถกถาติสโสปิ อนุสยกถา



ว่าด้วย อนุสัยเป็นธรรม 3 อย่าง



บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องอนุสัยเป็นธรรมแม้ทั้ง 3 คือ เป็นอัพยากตะ เป็น
อเหตุกะ และเป็นจิตตวิปปยุต. ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใดมีความเห็นผิดดุจ

ลัทธิของนิกายมหาสังฆิกะและสมิติยะทั้งหลายว่า ปุถุชนเมื่อจิตที่เป็น
กุศล และอัพยากตะซึ่งกำลังเป็นไป พึงกล่าวว่า เป็นผู้มีอนุสัย อนึ่ง
เหตุอันใดพึงมีในขณะนั้น อนุสัยทั้งหลายไม่เป็นกับด้วยเหตุอันนั้นด้วย
ไม่สัมปยุตกับจิตดวงนั้นด้วย เหตุใด เพราะเหตุนั้น อนุสัยเหล่านั้น จึง
เป็นอัพยากตะ เป็นอเหตุกะ เป็นจิตตวิปปยุต ดังนี้ คำถามของสกวาที
ในกถาแม้ทั้ง 3 โดยหมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที.
คำที่เหลือในที่นี้ อาจรู้ได้ตามแนวแห่งพระบาลีนั่นแหละ เพราะเป็นนัย
ที่ได้กล่าวไว้แล้วในหนหลัง ฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงไม่ได้ให้พิสดารแล้ว ดังนี้แล.
อรรถกถาติสโสปิอนุสยกถา จบ

ญาณกถา



[1449] สกวาที ถึงความไม่รู้จะปราศไปแล้ว เมื่อจิตที่เป็นญาณ
วิปปยุตเป็นไปอยู่ ไม่พึงกล่าวว่า ผู้มีความรู้ หรือ ?
ปรวาที ถูกแล้ว.
ส. เมื่อราคะปราศไปแล้ว ไม่พึงกล่าวว่า ผู้ปราศจาก
ราคะ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. ถึงความไม่รู้จะปราศไปแล้ว เมื่อจิตที่เป็นญาณ
วิปปยุตเป็นไปอยู่ ไม่พึงกล่าวว่า ผู้มีความรู้ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. เมื่อโทสะปราศไปแล้ว ฯลฯ เมื่อโมหะปราศไปแล้ว
ฯลฯ เมื่อกิเลสปราศไปแล้ว ไม่พึงกล่าวว่า ผู้หมดกิเลส หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[1450] ส. เมื่อราคะปราศไปแล้ว พึงกล่าวว่า ผู้ปราศจากราคะ
หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. เมื่อความไม่รู้ปราศไปแล้ว พึงจิตที่เป็นญาณวิปปยุต
จะเป็นไปอยู่ ก็พึงกล่าวว่า ผู้มีความรู้ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. เมื่อโทสะปราศไปแล้ว ฯลฯ เมื่อโมหะปราศไปแล้ว
ฯลฯ เมื่อกิเลสปราศไปแล้ว พึงกล่าวว่า ผู้หมดกิเลส หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.